วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2559

สถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจใน จังหวัดนราธิวาส

สถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจใน จังหวัดนราธิวาส

  • พระราชตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ ตั้งอยู่บนยอดเขาตันหยง ติดชายทะเล ตำบลกะลุวอเหนือ อ.เมือง จ.นราธิวาส อยู่ห่างจากตัวอำเภอเมืองนราธิวาส ประมาณ 8 กิโลเมตร ไปตามถนนสายนราธิวาส – อำเภอตากใบ ครอบคุลมเนื้อที่ประมาณ 300 ไร่ บริเวณเชิงเขาตันหยงและหาดทรายริมทะเล สร้างขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2516  สำหรับเป็นที่ประทับแรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงค์ เมื่อเสด็จแปรพระราชฐานยังจังหวัดชาย แดนภาคใต้ ช่วงเดือนสิงหาคม – ตุลาคม ของทุกปี ลักษณะอาคาร ประทับก่ออิฐถือปูน ทรงปั้นหยาสมัยใหม่ตามแบบนิยมของภาคใต้ แบ่งเป็นอาคารหมู่บน
    ซึ่งเป็นที่ประทับ และตำหนักของกองราชเลขาฯ และหมู่อาคารล่างอันเป็นที่พักของทหารมหาดเล็ก ในบริเวณมีแปลงทดลองปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ไม้ยืนต้น รวมถึงกรงเลี้ยงไก่ฟ้า นก และสัตว์ป่าพันธ์ต่างๆ ท่ามกลางแวดล้อมพรรณไม้ ป่าดงดิบ หายากของภาคใต้ และไม้ใหญ่ร่มรื่นสวยงาม ส่วนบริเวณด้านล่าง จัดเป็นศูนย์ศิลปาชีพพิเศษ
  • มัสยิด 300 ปี ตะโละมาเนาะ บ้าน ตะโละมาเนาะ ตำบลลุโบะสาวอ ห่างจากจังหวัดนราธิวาส เป็นระยะทาง 25 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 42 แล้วแยกที่บ้านบือราแง ห่างจากตัวอำเภอบาเจาะ ประมาณ ๔ กิโลเมตร แยกจากถนนสายปัตตานี-นราธิวาสก่อนถึงอำเภอยังมีทางแยกขวาไปถึงมัสยิดสร้าง ด้วยไม้ตะเคียนทั้งหลัง ตั้งตระหง่านมากว่า ๓๐๐ ปี ใช้สลักไม้ยึดหลักแทนตะปู หรือสกรูเหล็ก รูปทรงของอาคารเป็นแบบไทยพื้นเมืองประยุกต์เข้ากับศิลปะจีน และมลายูออกมาได้ลงตัว ส่วนเด่นที่สุดของอาคาร คือ เหนือหลังคาจะมีฐานมารองรับจั่วบนหลังคาอยู่ชั้นหนึ่ง ส่วนหออาซานซึ่งมีลักษณะเป็นเก๋งจีน ก็ตั้งอยู่บนหลังคาส่วนหลัง ฝาเรือนใช้ไม้ทั้งแผ่นแล้วเจาะหน้าต่าง ส่วนช่องลมแกะเป็นลวดลาย ใบไม้ ดอกไม้สลับลายจีน  ปัจจุบันมัสยิดนี้ยังใช้เป็นสถานประกอบศาสนกิจของชาวมุสลิม หากต้องการเข้าชมภายในต้องได้รับอนุญาตจากโต๊ะอิหม่ามประจำหมู่บ้าน โดยทั่วไปเข้าชมได้บริเวณภายนอกเท่านั้น นอกจากนั้นหมู่บ้านตะโละมาเนาะในอดีตยังเป็นแหล่งผลิตคัมภีร์อัลกุรอานที่ เขียนด้วยมื
  • พระพุทธอุทยานเขากง มี เนื้อที่ 142 ไร่ ตั้งอยู่ที่ตำบลลำภู จากตัวเมืองใช้เส้นทางนราธิวาส-ระแงะ (ทางหลวงหมายเลข 4055) ประมาณ 9 กิโลเมตร จะมองเห็นวัดเขากง และพระพุทธรูปทักษิณมิ่งมงคลสีทองปางปฐมเทศนาขัดสมาธิเพชรอยู่บนยอดเขา เป็นศิลปะสกุลช่างอินเดียตอนใต้ เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2509 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2512 องค์พระเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กประดับด้วยโมเสกสีทอง หน้าตักกว้าง 17 เมตร ความสูงวัดจากพระเกศบัวตูมถึงบัวใต้พระเพลา 24 เมตร จัดเป็นพระพุทธรูปกลางแจ้งที่งดงามและใหญ่ที่สุดในภาคใต้  เนินเขาลูกถัดไปมีเจดีย์สิริมหามายาซึ่งเป็นทรงระฆัง เหนือซุ้มประตูทั้ง 4 ทิศมีเจดีย์รายประดับอยู่ ภายในประดิษฐานพระพรหม บนยอดสุดบรรจุพระบรมสารีริกธาตุอันศักดิ์สิทธิ์ เนินเขาถัดไปอีกลูกหนึ่งเป็นที่ตั้งของอุโบสถ ผนังด้านนอกทั้งสี่ด้านประดับกระเบื้องดินเผาแกะสลัก ด้านหลังเป็นรูปช้างหมอบถวายดอกบัว หน้าบันเป็นรูปนักรบมีเทวดาถือคนโทถวาย
  • มัสยิดกลางจังหวัดนราธิวาส ตั้งอยู่ที่บ้านบางนรา ก่อนถึงหาดนราทัศน์ เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจของชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม มัสยิดกลางนราธิวาสนี้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2524 เป็นมัสยิดกลางประจำจังหวัดแห่งที่ 2 สร้างเป็นอาคาร 3 ชั้น แบบอาหรับ ชั้นล่างจะเป็นห้องประชุมใหญ่ ห้องทำละหมาดอยู่ 2 ชั้นบน ยอดเป็นโดมขนาดใหญ่ มีหอสูงสำหรับส่งสัญญาณอาซานเรียกชาวมุสลิมเข้ามาละหมาด
  • น้ำตกปาโจ ตั้งอยู่ที่บ้านปาโจ ตำบลบาเจาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาสเป็นน้ำตกใหญ่ที่มีน้ำตลอดปี แต่ในหน้าแล้งน้ำค่อนข้างน้อย มีความสูงประมาณ 60 เมตร มีทางขึ้นไปสู่ต้นน้ำเป็นชั้นๆ รวม 9 ชั้น นับว่าเป็นน้ำตกที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดและสวยงามแห่งหนึ่งของภาคใต้ เป็นส่วนหนึ่งของอุทยาน แห่งชาติบูโด – สุไหงปาดี มีพื้นที่คลอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอบาเจาะ อำเภอยี่งอ อำเภอระแง อำเภอรือเสาะ อำเภอสุไหงปาดี อำเภอจะแนะ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส อำเภอรามัน จังหวัดยะลา และอำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี จุดสนใจอีกอย่างหนึ่งของน้ำตกแห่งนี้คือการมี ใบไม้สีทองหรือ ย่านดาโอ๊ะ พันธุ์ไม้ชนิดนี้ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกในโลกที่นี่ เมื่อปี พ.ศ. 2531 ใบไม้สีทองเป็นไม้เลื้อย มีลักษณะใบคล้ายใบชงโคหรือใบเสี้ยว แต่มีขนาดใหญ่กว่ามาก บางใบใหญ่กว่าฝ่ามือเสียอีก มีขอบหยักเว้าเข้าทั้งที่โคนใบ และปลายใบ ลักษณะคล้ายวงรีสองอันอยู่ติดกัน ทุกส่วนของใบจะปกคลุมด้วยขนกำมะหยี่เนียนนุ่ม มีสีทองหรือสีทองแดงเหลือบรุ้งเป็นประกายงดงามยามต้องแสงอาทิตย์ สามารถมองเห็นได้จากระยะไกล และยังมีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ หายาก มีราคาแพง และกำลังจะสูญพันธุ์ คือ หวายตะค้าทอง
  • วนอุทยานอ่าวมะนาว สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จมาทรงเยี่ยมราษฎรในบริเวณพื้นที่บ้านบางมะนาว หมู่ที่ 1 ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส ทรงมีพระราชดำริให้มีการปรับปรุงด้านต่างๆ ทั้งทางเศรษฐกิจ การศึกษา วัฒนธรรมและส่งเสริมการท่องเที่ยว ซึ่งต่อมาสำนักงานป่าไม้เขตปัตตานีได้สนองพระราชดำริดังกล่าว โดยทำการสำรวจพื้นที่บริเวณป่าสงวนแห่งชาติพิเศษป่าเขาตันหยง ในพื้นที่นอกเขตพระราชฐานพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ เพื่อจัดตั้งเป็นวนอุทยาน มีเนื้อที่ประมาณ 720 ไร่ และตั้งชื่อว่า “วนอุทยานอ่าวมะนาว” โดยกรมป่าไม้ได้ขึ้นทะเบียนเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2536
  • ายหาดนราทัศน์  เป็นหาดทรายขาวสะอาดยาวประมาณ 5 กิโลเมตร ไปสิ้นสุดที่ปลายแหลมด้านปากแม่น้ำบางนราซึ่งใช้เป็นสถานที่จัดการแข่งขัน เรือกอและที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีด้วย แนวสนทำให้บรรยากาศริมทะเลร่มรื่นมากขึ้น ชาวบ้านนิยมมาพักผ่อนหย่อนใจกันที่นี่ ใกล้ๆ กันมีหมู่บ้านชาวประมงตั้งกระจัดกระจายตามริมแม่น้ำบางนรา และบริเวณเวิ้งอ่าวมีเรือกอและของชาวประมงจอดยู่มากมาย อยู่เลยจากตัวเมืองนราธิวาสไปตามถนนสายพิชิตบำรุง ประมาณ 1 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวสามารถใช้บริการรถจักรยานยนต์ รถสามล้อถีบหรือรถสองแถวเล็กจากตัวเมืองนราธิวาสไปยังหาดนราทัศน์ได้สะดวก
  • วัดชลธาราสิงเห (วัดพิทักษ์แผ่นดินไทย) เป็นวัดเก่าแก่ ตั้งอยู่หมู่ 3 ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จาก สี่แยกตลาดอำเภอตากใบแยกซ้ายประมาณ 100 เมตร เมื่อครั้งอังกฤษได้มลายูเป็นเมืองขึ้นนั้น อังกฤษพยายามจะรวมเมืองนราธิวาสไว้ในเขตมลายูด้วย แต่ ทว่าทางไทยเราได้อ้างว่าหัวเมืองนี้เป็นของไทยมานาน โดยยกเอาวัดชลธาราสิงเห ที่อำเภอตากใบ ซึ่งเป็น วัดไทยมาเป็นข้ออ้าง อังกฤษจึงยอมให้นราธิวาส รวมอยู่ในเขตของไทย ในบริเวณวัดชลธาราสิงเห มีสิ่งก่อสร้างทางพุทธศาสนาศิลปะฝีมือแบบไทยปักษ์ใต้ เป็นจุดเด่น และงดงามหลายชิ้น ในโบสถ์เก่าซึ่งสร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง ซึ่งเขียนโดยฝีมือพระภิกษุชาวสงขลางดงามมาก และถ่ายทอดรูปแบบชีวิตวัฒนธรรมความเป็น อยู่ท้องถิ่นปักษ์ใต้ไว้เด่นน่าสนใจเป็นพิเศษ เปิดให้ชมทุกวันระหว่างเวลา 08.00 น. – 17.00 น. โดยต้องขอ อนุญาตจากท่านเจ้าอาวาสก่อน
  • หมู่บ้านทอน หมู่บ้านทอน เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ติดชายทะเล คือชายหาดบ้านทอน ซึ่งเป็นชายหาดยาวขาวสะอาด และยังคงความเป็นธรรมชาติอยู่มาก ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม มีลักษณะเป็นหมู่บ้าน ประมง อาชีพของชาวบ้านส่วนใหญ่จึงทำการประมงเป็นอาชีพหลัก นอกจากนั้นยังใช้เวลาว่างประ ดิษฐ์ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน เช่นการทำเรือกอและจำลอง การสานเสื่อจากใบกระจูด ซึ่งปัจจุบันเป็น ของสินค้าที่ระลึกที่มีชื่อเสียงของจังหวัดนราธิวาส อาจกล่าวได้ว่า เสื่อกระจูดและเรือกอและ คือ สัญลักษณ์ของบ้านทอน และเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของจังหวัดนราธิวาส  ถ้าพูดถึงบ้านทอน ทุกคนจะนึกถึงหัตถกรรมพื้นบ้านที่โดดเด่น เช่น เรือกอและจำลอง ที่มีลวดลาย สวยงาม ประณีตละเอียดละอ่อน เป็นสิ่งที่สะท้อนความภาคภูมิใจ ที่จะบอกให้แก่ผู้มาเยือนรู้ว่า ที่นี่ คือดินแดนของชาวไทยมุสลิมผู้มีพื้นฐาน ในการเขียนลวดลายบนลำเรืออันเป็นเอกลักษณ์มาช้านาน ลวดลายบนลำเรือกอและ เป็นการผสมผสานระหว่างลายมาลายู ลายชวาและลายไทย โดยมีสัดส่วน ของลายไทยอยู่มากที่สุด เช่น ลายกนก ลายบัวคว่ำ บัวหงาย ลายหัวพญานาค หนุมานเหิรเวหา รวม ทั้งลายหัวนกในวรรณคดี เช่น “บุหรงซีงอ” สิงหปักษี (ตัวเป็นสิงห์หรือราชสีห์ หัวเป็นนกคาบปลาไว้ ที่หัวเรือ) เชื่อกันว่ามีเขี้ยวเล็บและมีฤทธิ์เดชมาก ดำน้ำเก่ง จึงเป็นที่นิยมของชาวเรือกอและมาแต่ โบราณ
  • ป่าพรุสิริธรป่าพรุโต๊ะแดง  เป็นป่าพรุที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศครับ ครอบคลุมพื้นที่ของ 3 อำเภอ คือ อ.ตากใบ อ.สุไหงปาดี และอ. สุไหงโกลก อยู่ห่างจากสุไหงโกลกประมาณ 10 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางสุไหงโกลก-ตากใบ กิโลเมตรที่ 5 เลี้ยวซ้ายตรงแยกชวนะนันท์เข้าไปประมาณ 3 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการการของ “ศูนย์ศึกษาป่าพรุธรรมชาติสิรินธร” ป่าพรุโต๊ะแดงเป็นป่าที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์ป่า และป่าไม้ธรรมชาติที่หาดูได้ยากซึ่งมีสัตว์ป่ากว่า 200 ชนิด และมีอีกหลายชนิดที่ใกล้จะสูญพันธุ์ เช่น เสือดำ กระรอก 7 สี หนูสิงคโปร์ กระรอกบินแก้มแดง ฯลฯ นอกจากนี้ ยังมีพืชพรรณต้นไม้อีกกว่า 400 ชนิดอีกด้วยครับ
  • ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริให้ก่อตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ขึ้น  เป็นศูนย์รวมกำลังของเจ้าหน้าที่ด้านเกษตร สังคม และการส่งเสริมการศึกษามารวมอยู่ด้วยกัน เพื่อให้ความรู้ และช่วยอนุเคราะห์ด้านวิชาการแก่ประชาชน ในการประกอบอาชีพและพัฒนาตนเอง  ศูนย์ศึกษาการพัฒนาแห่งนี้ มีเป้าหมายสำคัญด้านการวิจัยเพื่อปรับปรุงดินพรุ ให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านเกษตรกรรมให้ได้มากที่สุด และมีการศึกษาทดลองเกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดครอบครัวแบบครบวงจร ในเรื่องยางพาราและปาล์มน้ำมัน อันเป็นพืชเศรษฐกิจของภาคใต้ด้วย
  • การแข่งเรือกอและ-เรือยาวหน้าพระที่นั่ง เป็นกิจกรรมสำคัญอย่างหนึ่งในงานของดีเมืองนรา ระหว่างวันที่ 21-25 กันยายนของทุกปี ของจังหวัดนราธิวาส โดยจัดให้มีการแข่งเรือกอและขึ้นในลำน้ำบางนรา บริเวณตรงข้ามกับศาลาประชาคม การแข่งเรือนี้จัดเป็นเทศกาลประจำปี ในช่วงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ตลอดจนพระราชวงศ์ เสด็จแปรพระราชฐาน มาประทับที่พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์
  • วัดเชิงเขา หรือ วัดหลวงพ่อแดง หลวงพ่อแดง ธัมมโชโต อดีตเจ้าอาวาส วัดเชิงเขา อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส ยอดเกจิแห่งเทือกเขาบูโดท่านนี้เมื่อมรณภาพแล้ว ร่ายกายไม่เน่าเปื่อย กลับแข็งเป็นหิน แถมยังเป็นที่นับถือของทั้งชาวไทยพุทธและมุสลิมอีกด้วย








หลังสร้างสะพาน





หลังสร้างสะพาน


วันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2559

รูปภาพ ก่อนสร้างสะพาน








                                                         






                                  รูปภาพ ก่อนสร้างสะพาน





ความเป็นมาของชุมชน

ชุมชนเกาะยาวคือชุมชนเล็กๆที่อยู่บนเกาะริมเขตชายแดนแผ่นดินสุดท้ายทะเลอ่าวไทยในอำเภอตากใบจังหวัดนราธิวาสทิศตะวันออกติดทะเลอ่าวไทยทิศตะวันตกฝั่งตรงข้ามคือตลาดเจ๊ะเหที่ว่าการอำเภอตากใบ วัดชลธาราสิงเห

ลักษณะเกาะเป็นช่วงแคบทอดยาวขนานไปจนถึงอ่าวท่าเสด็จ ที่ตลาดท่าเรือตากใบ หลังจากสะพานเกาะยาวใหม่ที่ถูกขนานนามว่า สะพานคอย 100 ปี



เกาะยาว กำลังถูกผลักดันให้เป็น Unseen สถานที่ท่องเที่ยวใหม่ของ จ.นราธิวาส มีโครงการก่อสร้างตลาดน้ำตากใบ สร้างนาฬิกาแดด มัสยิด ทรงมลายู นูซันตารา เพื่อรองรับโครงการชมแสงอาทิตย์แรกแห่งปี

เกาะยาวอุดมสมบูรณ์ไปด้วยแหล่งนิเวศวิทยาที่สำคัญ ชุกชุมด้วยปลากุเราปลาที่มีชื่อเสียงของชาวตากใบ มีพื้นที่ประวัติศาสตร์อำเภอตากใบ มีเสากระโดงเรือสำเภาโบราณสมัยรัชการที่ 5 ติดอยู่ที่ต้นไทร กลางเกาะ

จากการสันนิฐานของว่าที่ ร้อยโท  ดิลก ศิริวัลลภ (ล่ามส่วนพระองค์)เป็นไปได้ว่าครั้งที่รัชการที่ 5ได้เสด็จผ่านแหลมมาลายู ทรงประทับที่วัดชลธาราสิงเห แวะพักเรือที่เกาะยาวด้วย ยังถือเป็นเมืองท่าสำคัญในอดีต


เกาะยาว สะพานคอยร้อยปี




เกาะยาว นราธิวาส สะพานคอย 100 ปี เกาะยาว นราธิวาส เกาะยาว นราธิวาส สะพานคอย 100 ปี 08122014                          100
เกาะยาว นราธิวาส สะพานคอย 100 ปี

เกาะยาว นราธิวาส อยู่ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 3 กม. จากสี่แยกตลาดตากใบเลยไปยังแม่น้ำตากใบ มีสะพานไม้ชื่อ ” สะพานคอย 100 ปี ” ยาว 345 เมตร ป็นสะพานไม้ที่ทอดตัวข้ามแม่น้ำตากใบไปยัง ” เกาะยาว ​” ซึ่งทางด้านตะวันออกของ ” เกาะยาว ​” จะติดกับทะเล มีหาดทรายละเอียดสีขาวสวยงาม สามารถเล่นน้ำได้ ซึ่ง ทางด้านตะวันออกของเกาะจะติดกับทะเล มีหาดทรายละเอียดสีน้ำตาล บรรยากาศสงบ
ทำไมถึงต้องเรียกว่า  สะพานคอย 100 ปี เพราะสมัยก่อนเกาะยาวซึ่งอยู่ตรงข้ามที่ว่าการอำเภอตากใบ ฝั่งด้านหนึ่งติดกับทะเลอ่าวไทย ส่วนอีกฝั่งด้านหนึ่งติดแม่น้ำตากใบ เป็นเกาะที่มีความยาวประมาณ 9 กิโลเมตร มีชายหาดทรายขาวสะอาด มีทิวมะพร้าวเรียงรายเป็นแนวยาวสวยงาม บรรยากาศร่มรื่นเหมาะเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจในวันหยุด หรือเทศกาลต่าง ๆ
เกาะยาว หรือ บ้านเกาะยาว หมู่ที่ 8 ตำบลเจ๊ะเห อ.ตากใบ จ.นราธิวาส ประชากรส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่บนเกาะยาวนับถือศาสนาอิสลาม มีอาชีพทำการประมงและสวนมะพร้าว เมื่อก่อนจะเดินทางมายังฝั่งที่ว่าการอำเภอต้องใช้เรือ กว่าจะมีการสร้างสะพานไม้ระหว่างเกาะยาวไปยังฝั่งที่ว่าการอำเภอต้องคอยถึง 100 ปี จึงเป็นสาเหตุให้ประชาชนเรียกสะพานดังกล่าวว่า ” สะพานคอย 100 ปี